#ประกันชีวิตกลุ่ม  #สวัสดิการพนักงาน #สวัสดิการพนักงานวันนี้


ประกันชีวิตกลุ่มเป็นแบบประกันภัยสำหรับจัดให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงานลูกจ้างของ ธุรกิจ องค์กร โรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ พนักงานจะได้รับความคุ้มครองทั้งในเรื่องประกันชีวิต อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ และประกันสุขภาพ

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิตกลุ่มที่มีต่อพนักงาน

  • พนักงานจะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลหรือเงินประกันชีวิตเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากประกันสังคม
  • พนักงานได้รับบัตรประกันภัยแสดงตนในการเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน
  • สร้างหลักประกันความมั่นคง ความอบอุ่นใจแก่พนักงานและครอบครัว

ด้วยค่าเบี้ยประกันภัยประมาณเดือนละ 300 บาท /คน พนักงานจะได้รับความคุ้มครองประกันชีวิตในวงเงิน 300,000 บาท และวงเงินค่ารักษาพยาบาล 70,000 บาท ถึง 225,000 บาท ต่อครั้ง

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิตกลุ่มที่มีต่อองค์กร

  • แบ่งเบาภาระในการบริหารจัดการสวัสดิการพนักงานขององค์กร
  • องค์กรสามารถรู้งบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการ
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มถือเป็นรายจ่ายขององค์กร

ด้วยค่าเบี้ยประกันภัยประมาณเดือนละ 300 บาท /คน พนักงานจะได้รับความคุ้มครองประกันชีวิตในวงเงิน 300,000 บาท และวงเงินค่ารักษาพยาบาล 70,000 บาท ถึง 225,000 บาท  ต่อ ครั้ง

ตัวอย่างตารางวงเงินความคุ้มครองประกันชีวิตกลุ่ม (non-package)

รายการชดเชยค่ารักษาพยาบาล (เงินบาท)
แผน 1  แผน 2  แผน 3 
  พนง.ทั่วไป ผู้จัดการ ผู้บริหาร
ก. ค่าห้องค่าอาหารรายวันๆละ 1,000 2,000 3,000
ค่าห้องI.C.U. สูงสุด 7 วัน ๆ ละ 2,000 4,000 6,000
ข. ค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ 20,000 40,000 80,000
ค. ค่าแพทย์ผ่าตัด 6,000 – 45,000 12,000 – 90,000 20,000 – 150,000
ง. ค่าแพทย์เยี่ยมไข้วันละ 800 1,000 1,000
จ. ค่ารักษากรณีประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน 6,000 10,000 10,000
ฉ. ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษ 3,000 5,000 10,000
ช. ค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอก  เลือกซื้อได้ เลือกซื้อได้ เลือกซื้อได้
ซ. ค่าทันตกรรม เลือกซื้อได้ เลือกซื้อได้ เลือกซื้อได้
ฌ. ประกันชีวิต 200,000 300,000 500,000
ญ. ประกันอุบัติเหตุ 200,000 300,000 500,000
ฎ. ประกันทุพพลภาพ 200,000 300,000 500,000
ค่าเบี้ยประกันภัยรายเดือน(โดยประมาณ) 175 300 710
  • วงเงินผลประโยชน์ดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มหรือลดได้ตามนโยบายของแต่ละองค์กร
  • ค่าเบี้ยประกันภัยที่แท้จริงจะคำนวณจาก ทุนประกันภัย  อายุ และเพศของพนักงานทั้งหมดเป็นต้น

หมายเหตุ อัตราค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มโดยเฉลี่ยจะต่ำกว่าอัตราเบี้ยประกันภัยรายบุคคลประมาณ 50%

บริการของเรา

ก่อนซื้อประกัน

  • ให้คำปรึกษาแนะนำรูปแบบประกันชีวิตกลุ่ม และวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสมแก่องค์กร
  • ประเมินหาราคากลางเพื่อพิจารณาเทียบกับงบประมาณขององค์กร
  • นำเสนอรายงานเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันภัย ความคุ้มครอง ความมั่งคงทางการเงิน ของบริษัทประกันภัย

หลังซื้อประกัน

  • ติดตาม ตรวจสอบความถูกต้องของการจ่ายเคลม หรือการปฏิเสธการจ่ายเคลม
  • ประสานงานการเข้า – ออก โรงพยาบาลกรณีฉุกเฉิน หรือมีเหตุขัดข้อง
  • รับร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ หรือตอบคำถามเกี่ยวกับประกันชีวิตกลุ่มแก่พนักงาน
  • ตรวจเช็คบัตรประกันสุขภาพ / ใบรับรองการประกันภัยของพนักงานก่อนส่งมอบให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  • ตรวจเช็คกรมธรรม์ เงื่อนไขความคุ้มครองได้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่
  • ตรวจเช็คใบแจ้งชำระค่าเบี้ยประกันภัย  อัตราค่าเบี้ยประกัน จำนวนพนักงาน
  • ตรวจเช็คข้อมูลบัตรระบุผู้รับประโยชน์ก่อนส่งมอบให้กับองค์กรเพื่อเก็บรักษา หรือมอบหมายให้บริษัทฯ เป็นผู้เก็บรักษาบัตรผู้รับผลประโยชน์ดังกล่าวแทนองค์กร
  • ประชุมชี้แจงพนักงานให้ทราบถึงความคุ้มครอง/ผลประโยชน์ และการเบิกเคลม

ข้อตกลงการให้บริการเสริมฟรี

  1. บริการคำแนะนำ Smart Care Smart Claim
  2. การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินในวันออกจากโรงพยาบาล
  3. การทำเบิกจ่ายเคลมค่ารักษาฯ เพิ่มเติมในส่วนที่เกินวงเงินประกันภัย (ถ้ามี)
  4. การทำเบิกจ่ายค่าแว่นสายตา ทันตกรรม (ถ้ามี)
  5. การยื่นเบิกเคลมคลอดบุตรประกันสังคม หรือทันตกรรมที่พนักงานสำรองจ่ายไปก่อน
  6. บริการยื่นตรวจสอบประวัติอาชญากรรมพนักงากับทางกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ตัวอย่างการวิเคราะห์สถิติเคลมค่ารักษาพยาบาลเพื่อเทียบกับสถิติการเบิกค่ารักษาพยาบาลของพนักงานในองค์กรทั่วไป

ประเภทการเคลมค่ารักษาพยาบาลต่างๆ เป็นตัวเลขเฉลี่ยทั้งระบบประกันชีวิตกลุ่ม (ประเทศไทย)
เคลมผู้ป่วยนอก200-300% หมายถึงองค์กรมีพนักงาน 100 คน จะมีเคลมผู้ป่วยนอก 200-300 เคลม ในหนึ่งปี
เคลมผู้ป่วยใน5 – 6% หมายถึงองค์กรมีพนักงาน 100 คนจะมี
เคลมผู้ป่วยใน 5-6 เคลมในหนึ่งปี
จำนวนเคลมผู้ป่วยนอน รพ. 1-3 วันมีถึง 97% ของเคลมทั้งหมด
เฉลี่ยทั้งระบบพนักงานเคลมค่ารักษาได้เพียง70% ของใบเสร็จค่ารักษา
สถิติพนักงานที่เคลมค่ารักษา
ต่ำกว่า 50%
10% ของเคลมผู้ป่วยใน

คำถามที่พบบ่อย

  • ทำไมบริษัทประกันภัยได้ปรับค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มสูงขึ้นทุก 1-2 ปี

    เพราะบริษัทประกันภัยพบว่าได้มีการจ่ายเงินเคลม(ค่ารักษาฯ)ใน 12 เดือนโดยเฉลี่ยที่ผ่านมาสูงกว่า 75-85% ของเบี้ยประกันที่บริษัทประกันได้รับ

  • ทำไมเคลมค่ารักษาพยาบาลถึงได้สูงขึ้นทุกปี

    1. เพราะบริษัทประกันพบว่าได้มีการจ่ายเงินเคลม(ค่ารักษาฯ)ใน 12- 24 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่า 75-85% ของเบี้ยประกันที่บริษัทประกันได้รับ เพราะค่ารักษาพยาบาลทุกวันนี้ได้แพงสูงขึ้นซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เงินเฟื้อ การพัฒนาเทคโนโลยีส์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ เครื่องมือ เวชภัณฑ์ มีราคาสูงขึ้น
    2. การแสวงหากำไรสูงสุดจากการทำธุรกิจทางการแพทย์ที่ปราศจากการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากหน่วยงานของรัฐ
    3. ระเบียบการ/เงื่อนไขในการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่อาจเอื้อไปใช้ในทางไม่สุจริต
    4. ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงาน เช่นการมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาฯ บางส่วน หรือการกำหนดโรงพยาบาล หรือการใช้สิทธิ์อื่นๆ
    5. เพราะพนักงานผู้ป่วยไม่เป็นผู้จ่ายและผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันก็ไม่ได้เป็นผู้ป่วย เป็นต้น

  • มีวิธีการหรือมาตรการอะไรบ้างที่พอจะลดหรือบรรเทาเบาบางลงกับคำถามเหล่านี้?

    1. รัฐบาลลด/เลิกภาษีนำเข้าเวชภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์บางรายการควบคู่กับการกำหนดมาตรการการควบคุมดูแลค่าบริการ และ การรักษาทางการแพทย์ รวมทั้งการบังคับใช้ระบบการคิดค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (drgs) ในบางโรค
    2. ส่งเสริมและสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐเปิดแผนกให้บริการระดับพรีเมี่ยมแต่คิดค่าบริการที่ต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชน ตัวอย่างเช่น รพ ศิริราชปิยะราชการุณ รพ รามาฯ รพ ศรีภัทร เชียงใหม่ เป็นต้น
    3. การใช้บัตรประกันเฉพาะผู้ป่วยใน - การกำหนดโรงพยาบาล - การให้พนักงานผู้ป่วยมีส่วนร่วมจ่าย(co-pay/deduct) - การใช้บริการ scsc
    4. การปรับเปลี่ยนแผนผลประโยชน์ หรือการจัดทำขึ้นเป็น 2 ระบบสำหรับพนักงานที่ต้องการอยู่ในแผนเดิมและแผนใหม่สำหรับพนักงานใหม่
    5. BUY OUT VOLUNTARY PLAN โดยกำหนดเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้กับพนักงานเข้าร่วมโครงการซื้อประกันชิวิตและประกันสุขภาพส่วนบุคคล วิธีนี้พนักงานจะมีส่วนรับผิดชอบหรือมีส่วนได้เสียในการเคลมค่ารักษาพยาบาลและองค์กรเองก็สามารถตั้งงบได้ทุก 5 ปี
    6. การวิเคราะห์สถิติเคลมค่ารักษาพยาบาลของพนักงานเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนปรับปรุงการบริหารจัดการสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ดันทุกฝ่าย
    7. อื่นๆ

  • ประโยชน์การซื้อประกันชีวิตกลุ่มผ่านบริษัทน้าหน้าประกันภัย

    ให้คำปรึกษา และจัดหาแบบประกันภัย จากบริษัทประกันภัยต่างๆ ให้ลูกค้าพิจารณา
    • การตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ เงื่อนไขกรมธรรม์ การจ่ายเคลมครบ/ปฎิเสธ การปรับเบี้ยประกันภัย
    • ให้บริการเสริม เช่น การสำรองจ่ายเคลมส่วนเกินทั้งในเรื่องค่ารักษาพยาบาลหรือเงินฌาปนกิจ
    • ทำจ่ายเคลมส่วนเกิน(ถ้ามี)
    • ให้คำแนะนำ smart care smart claim