ประกันชีวิตกลุ่มสวัสดิการพนักงาน
ข้อเสนอประกันชีวิตกลุ่มเบื้องต้น ข้อเสนอประกันชีวิตกลุ่มสำหรับปีต่ออายุกรมธรรม์บริการของเรา
#ประกันชีวิตกลุ่ม #สวัสดิการพนักงาน #สวัสดิการพนักงานวันนี้
ประกันชีวิตกลุ่มเป็นแบบประกันภัยสำหรับจัดให้เป็นสวัสดิการแก่พนักงานลูกจ้างของ ธุรกิจ องค์กร โรงงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ พนักงานจะได้รับความคุ้มครองทั้งในเรื่องประกันชีวิต อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ และประกันสุขภาพ
ประโยชน์ของการทำประกันชีวิตกลุ่มที่มีต่อพนักงาน
- พนักงานจะได้รับเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลหรือเงินประกันชีวิตเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากประกันสังคม
- พนักงานได้รับบัตรประกันภัยแสดงตนในการเข้าโรงพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่าย
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มไม่ถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน
- สร้างหลักประกันความมั่นคง ความอบอุ่นใจแก่พนักงานและครอบครัว
ด้วยค่าเบี้ยประกันภัยประมาณเดือนละ 300 บาท /คน พนักงานจะได้รับความคุ้มครองประกันชีวิตในวงเงิน 300,000 บาท และวงเงินค่ารักษาพยาบาล 70,000 บาท ถึง 225,000 บาท ต่อครั้ง
ประโยชน์ของการทำประกันชีวิตกลุ่มที่มีต่อองค์กร
- แบ่งเบาภาระในการบริหารจัดการสวัสดิการพนักงานขององค์กร
- องค์กรสามารถรู้งบประมาณรายจ่ายด้านสวัสดิการ
- ค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มถือเป็นรายจ่ายขององค์กร
ด้วยค่าเบี้ยประกันภัยประมาณเดือนละ 300 บาท /คน พนักงานจะได้รับความคุ้มครองประกันชีวิตในวงเงิน 300,000 บาท และวงเงินค่ารักษาพยาบาล 70,000 บาท ถึง 225,000 บาท ต่อ ครั้ง
ตัวอย่างตารางวงเงินความคุ้มครองประกันชีวิตกลุ่ม (non-package)
รายการชดเชยค่ารักษาพยาบาล (เงินบาท) | |||
แผน 1 | แผน 2 | แผน 3 | |
พนง.ทั่วไป | ผู้จัดการ | ผู้บริหาร | |
ก. ค่าห้องค่าอาหารรายวันๆละ | 1,000 | 2,000 | 3,000 |
ค่าห้องI.C.U. สูงสุด 7 วัน ๆ ละ | 2,000 | 4,000 | 6,000 |
ข. ค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ | 20,000 | 40,000 | 80,000 |
ค. ค่าแพทย์ผ่าตัด | 6,000 – 45,000 | 12,000 – 90,000 | 20,000 – 150,000 |
ง. ค่าแพทย์เยี่ยมไข้วันละ | 800 | 1,000 | 1,000 |
จ. ค่ารักษากรณีประสบอุบัติเหตุฉุกเฉิน | 6,000 | 10,000 | 10,000 |
ฉ. ค่าปรึกษาแพทย์พิเศษ | 3,000 | 5,000 | 10,000 |
ช. ค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอก | เลือกซื้อได้ | เลือกซื้อได้ | เลือกซื้อได้ |
ซ. ค่าทันตกรรม | เลือกซื้อได้ | เลือกซื้อได้ | เลือกซื้อได้ |
ฌ. ประกันชีวิต | 200,000 | 300,000 | 500,000 |
ญ. ประกันอุบัติเหตุ | 200,000 | 300,000 | 500,000 |
ฎ. ประกันทุพพลภาพ | 200,000 | 300,000 | 500,000 |
ค่าเบี้ยประกันภัยรายเดือน(โดยประมาณ) | 175 | 300 | 710 |
- วงเงินผลประโยชน์ดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มหรือลดได้ตามนโยบายของแต่ละองค์กร
- ค่าเบี้ยประกันภัยที่แท้จริงจะคำนวณจาก ทุนประกันภัย อายุ และเพศของพนักงานทั้งหมดเป็นต้น
หมายเหตุ อัตราค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มโดยเฉลี่ยจะต่ำกว่าอัตราเบี้ยประกันภัยรายบุคคลประมาณ 50%
บริการของเรา
ก่อนซื้อประกัน
- ให้คำปรึกษาแนะนำรูปแบบประกันชีวิตกลุ่ม และวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสมแก่องค์กร
- ประเมินหาราคากลางเพื่อพิจารณาเทียบกับงบประมาณขององค์กร
- นำเสนอรายงานเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกันภัย ความคุ้มครอง ความมั่งคงทางการเงิน ของบริษัทประกันภัย
หลังซื้อประกัน
- ติดตาม ตรวจสอบความถูกต้องของการจ่ายเคลม หรือการปฏิเสธการจ่ายเคลม
- ประสานงานการเข้า – ออก โรงพยาบาลกรณีฉุกเฉิน หรือมีเหตุขัดข้อง
- รับร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ หรือตอบคำถามเกี่ยวกับประกันชีวิตกลุ่มแก่พนักงาน
- ตรวจเช็คบัตรประกันสุขภาพ / ใบรับรองการประกันภัยของพนักงานก่อนส่งมอบให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล
- ตรวจเช็คกรมธรรม์ เงื่อนไขความคุ้มครองได้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่
- ตรวจเช็คใบแจ้งชำระค่าเบี้ยประกันภัย อัตราค่าเบี้ยประกัน จำนวนพนักงาน
- ตรวจเช็คข้อมูลบัตรระบุผู้รับประโยชน์ก่อนส่งมอบให้กับองค์กรเพื่อเก็บรักษา หรือมอบหมายให้บริษัทฯ เป็นผู้เก็บรักษาบัตรผู้รับผลประโยชน์ดังกล่าวแทนองค์กร
- ประชุมชี้แจงพนักงานให้ทราบถึงความคุ้มครอง/ผลประโยชน์ และการเบิกเคลม
ข้อตกลงการให้บริการเสริมฟรี
- บริการคำแนะนำ Smart Care Smart Claim
- การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินในวันออกจากโรงพยาบาล
- การทำเบิกจ่ายเคลมค่ารักษาฯ เพิ่มเติมในส่วนที่เกินวงเงินประกันภัย (ถ้ามี)
- การทำเบิกจ่ายค่าแว่นสายตา ทันตกรรม (ถ้ามี)
- การยื่นเบิกเคลมคลอดบุตรประกันสังคม หรือทันตกรรมที่พนักงานสำรองจ่ายไปก่อน
- บริการยื่นตรวจสอบประวัติอาชญากรรมพนักงากับทางกองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ตัวอย่างการวิเคราะห์สถิติเคลมค่ารักษาพยาบาลเพื่อเทียบกับสถิติการเบิกค่ารักษาพยาบาลของพนักงานในองค์กรทั่วไป
ประเภทการเคลมค่ารักษาพยาบาลต่างๆ | เป็นตัวเลขเฉลี่ยทั้งระบบประกันชีวิตกลุ่ม (ประเทศไทย) |
เคลมผู้ป่วยนอก | 200-300% หมายถึงองค์กรมีพนักงาน 100 คน จะมีเคลมผู้ป่วยนอก 200-300 เคลม ในหนึ่งปี |
เคลมผู้ป่วยใน | 5 – 6% หมายถึงองค์กรมีพนักงาน 100 คนจะมี เคลมผู้ป่วยใน 5-6 เคลมในหนึ่งปี |
จำนวนเคลมผู้ป่วยนอน รพ. 1-3 วัน | มีถึง 97% ของเคลมทั้งหมด |
เฉลี่ยทั้งระบบพนักงานเคลมค่ารักษาได้เพียง | 70% ของใบเสร็จค่ารักษา |
สถิติพนักงานที่เคลมค่ารักษา ต่ำกว่า 50% | 10% ของเคลมผู้ป่วยใน |
คำถามที่พบบ่อย
-
ทำไมบริษัทประกันภัยได้ปรับค่าเบี้ยประกันชีวิตกลุ่มสูงขึ้นทุก 1-2 ปี
เพราะบริษัทประกันภัยพบว่าได้มีการจ่ายเงินเคลม(ค่ารักษาฯ)ใน 12 เดือนโดยเฉลี่ยที่ผ่านมาสูงกว่า 75-85% ของเบี้ยประกันที่บริษัทประกันได้รับ
-
ทำไมเคลมค่ารักษาพยาบาลถึงได้สูงขึ้นทุกปี
1. เพราะบริษัทประกันพบว่าได้มีการจ่ายเงินเคลม(ค่ารักษาฯ)ใน 12- 24 เดือนที่ผ่านมาสูงกว่า 75-85% ของเบี้ยประกันที่บริษัทประกันได้รับ เพราะค่ารักษาพยาบาลทุกวันนี้ได้แพงสูงขึ้นซึ่งมาจากหลายสาเหตุ เงินเฟื้อ การพัฒนาเทคโนโลยีส์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ เครื่องมือ เวชภัณฑ์ มีราคาสูงขึ้น
2. การแสวงหากำไรสูงสุดจากการทำธุรกิจทางการแพทย์ที่ปราศจากการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากหน่วยงานของรัฐ
3. ระเบียบการ/เงื่อนไขในการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่อาจเอื้อไปใช้ในทางไม่สุจริต
4. ขาดการมีส่วนร่วมของพนักงาน เช่นการมีส่วนร่วมในการจ่ายค่ารักษาฯ บางส่วน หรือการกำหนดโรงพยาบาล หรือการใช้สิทธิ์อื่นๆ
5. เพราะพนักงานผู้ป่วยไม่เป็นผู้จ่ายและผู้จ่ายค่าเบี้ยประกันก็ไม่ได้เป็นผู้ป่วย เป็นต้น -
มีวิธีการหรือมาตรการอะไรบ้างที่พอจะลดหรือบรรเทาเบาบางลงกับคำถามเหล่านี้?
1. รัฐบาลลด/เลิกภาษีนำเข้าเวชภัณฑ์ เครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์บางรายการควบคู่กับการกำหนดมาตรการการควบคุมดูแลค่าบริการ และ การรักษาทางการแพทย์ รวมทั้งการบังคับใช้ระบบการคิดค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (drgs) ในบางโรค
2. ส่งเสริมและสนับสนุนโรงพยาบาลรัฐเปิดแผนกให้บริการระดับพรีเมี่ยมแต่คิดค่าบริการที่ต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชน ตัวอย่างเช่น รพ ศิริราชปิยะราชการุณ รพ รามาฯ รพ ศรีภัทร เชียงใหม่ เป็นต้น
3. การใช้บัตรประกันเฉพาะผู้ป่วยใน - การกำหนดโรงพยาบาล - การให้พนักงานผู้ป่วยมีส่วนร่วมจ่าย(co-pay/deduct) - การใช้บริการ scsc
4. การปรับเปลี่ยนแผนผลประโยชน์ หรือการจัดทำขึ้นเป็น 2 ระบบสำหรับพนักงานที่ต้องการอยู่ในแผนเดิมและแผนใหม่สำหรับพนักงานใหม่
5. BUY OUT VOLUNTARY PLAN โดยกำหนดเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้กับพนักงานเข้าร่วมโครงการซื้อประกันชิวิตและประกันสุขภาพส่วนบุคคล วิธีนี้พนักงานจะมีส่วนรับผิดชอบหรือมีส่วนได้เสียในการเคลมค่ารักษาพยาบาลและองค์กรเองก็สามารถตั้งงบได้ทุก 5 ปี
6. การวิเคราะห์สถิติเคลมค่ารักษาพยาบาลของพนักงานเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนปรับปรุงการบริหารจัดการสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ดันทุกฝ่าย
7. อื่นๆ -
ประโยชน์การซื้อประกันชีวิตกลุ่มผ่านบริษัทน้าหน้าประกันภัย
ให้คำปรึกษา และจัดหาแบบประกันภัย จากบริษัทประกันภัยต่างๆ ให้ลูกค้าพิจารณา
• การตรวจสอบความถูกต้องต่างๆ เงื่อนไขกรมธรรม์ การจ่ายเคลมครบ/ปฎิเสธ การปรับเบี้ยประกันภัย
• ให้บริการเสริม เช่น การสำรองจ่ายเคลมส่วนเกินทั้งในเรื่องค่ารักษาพยาบาลหรือเงินฌาปนกิจ
• ทำจ่ายเคลมส่วนเกิน(ถ้ามี)
• ให้คำแนะนำ smart care smart claim